Ethnic Groups in Mekong River Basin (MRB)

กำเนิดของกะเหรี่ยงคอยาว (Origin of Long Neck Karen)

กำเนิดของกะเหรี่ยงคอยาว (Origin of Long Neck Karen)

 ตำนานที่ 1 เมื่อก่อนชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวได้ไปเห็นหงส์ที่แสนสวยงามเข้า จึงอยากให้คอของตัวเองมีความอ่อนช้อยงดงามดังหงส์จึงนำขดลวดมาพันคอ บ้างก็ว่าเดิมพวกชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวมีแม่เป็นมังกรและหงส์   จึงต้องใส่ห่วงที่คอเพื่อจะได้มีคอที่ระหง ส่ายไปส่ายมาอย่างสง่างามสมเป็นทายาทของมังกรและหงส์ นอกจากหงส์และมังกรแล้ว ชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวเองก็เชื่อว่าตนเองสืบเชื้อสายมาจากพญานาคอีกด้วย

          ตำนานที่ 2 ชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวนั้นอาศัยอยู่ในป่า ต่อมาทำให้ภูตผีเกิดความไม่พอใจ ภูตผีจึงอยากให้ชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวตายทั้งหมด ภูตผีเหล่านั้นจึงส่งเสือ/แปลงร่างเป็นเสือเข้ามากัดกินทำร้ายผู้คนในหมู่บ้านจนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิง เพื่อที่ชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวจะได้ไม่มีผู้หญิงไว้สืบลูกหลาน และส่วนมากชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวที่ถูกเสือกัดจะถูกกัดบริเวณลำคอ ผู้หญิงชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวจึงต้องป้องกันตัวโดยการพันโหละไว้รอบคอ แขนและขา กันเสือกัดตาย

          ตำนานที่ 3 สมัยก่อนชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวเป็นชนเผ่าที่ร่ำรวย ผู้หญิงชาวกะยันชอบความฟุ้งเฟ้อ พระเจ้าพิโรธจึงส่งเสือมาฆ่าผู้หญิง ด้วยความกลัวผู้หญิงจะถูกเสือฆ่า บรรพบุรุษชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวจึงได้ทำ ห่วงพันรอบคอเพื่อป้องกันเสือกัดคอระหว่างเดินทาง เดิมห่วงคอทำ ด้วยทองคำแต่เมื่อทองคำ หายากขึ้นจึงใช้ทองเหลืองแทน

          ตำนานที่ 4 ในอดีตอันไกลโพ้น ดินแดนของประเทศพม่าเคยถูกปกครองโดย “แลเคอ” ชนเผ่านักรบผู้กล้าหาญและยึดถือคำสัตย์เสมอด้วยชีวิต (แลเคอ คือ ชนเผ่ากะยัน หรือกะเหรี่ยงคอยาวในปัจจุบัน) ต่อมาประเทศพม่าได้ผนึกกำลังกับชนเผ่าบังการี (ต้นตระกูลของชาวบังคลาเทศ) ทำสงครามขับไล่ชนเผ่าแลเคอ จนเป็นเหตุให้แลเคอต้องอพยพหลบหนีจากถิ่นฐานบ้านเดิมโยกย้ายไปอยู่ยังดินแดนแห่งใหม่ ในระหว่างการหลบหนีนั้นราชธิดาของผู้นำเผ่าได้นำเอา “ต้นปาดอง” ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวแลเคอติดตัวมาด้วย ต้นปาดองนี้มีสีเหลืองอร่ามดุจทอง ครั้นเมื่อหลบหนีมาจนถึงดินแดนซึ่งปลอดภัยจากการติดตามของข้าศึกศัตรูแล้ว ราชธิดาจึงสั่งให้ไพร่พลหยุดทัพ หลังจากนั้นก็นำต้นปาดองมาพันไว้รอบคอพร้อมทั้งประกาศว่าจะนำเอาต้นปาดองออกจากคอก็ต่อเมื่อชนเผ่าแลเคอสามารถกู้แผ่นดินเกิดกลับคืนมาได้ ด้วยเหตุนี้เอง กะเหรี่ยงคอยาวซึ่งเป็นลูกหลานของชนเผ่าแลเคอผู้ยึดถือคำสัตย์เสมอด้วยชีวิตจึงนิยมทำพิธีกรรมใส่ห่วงรอบคอให้แก่เด็กหญิงในเผ่าตั้งแต่อายุ 5 – 9 ปี (เป็นช่วงอายุซึ่งคาดว่าตรงกันกับช่วงอายุของราชธิดาในขณะที่นำต้นปาดองมาพันรอบคอเป็นครั้งแรก) และในระหว่างทำพิธีกรรมหมอผีประจำเผ่าจะท่องคาถากล่าวเตือนใจให้พยายามกลับไปกู้แผ่นดินคืน โดยจากต้นปาดองก็มีการวิวัฒนาการจากพืชสีทอง เป็นทองคำ และเป็นลวดทองแดงหรือลวดทองเหลืองในปัจจุบัน เป็นสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้และเป็นสิ่งที่เตือนความจำว่า สักวันหนึ่งแลเคอจะต้องกลับไปยิ่งใหญ่อีกครั้ง โดยทองเหลืองที่นำมาใช้จะเป็นทองเหลืองจากเมืองเบลอง ประเทศพม่า โดยจะเป็นห่วงทองเหลืองตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1/3 นิ้ว

          ตำนานที่ 5 สมัยก่อนได้มีการประกวดสาวงามในหมู่สาวกะยันสี่กลุ่ม ได้แก่ กะยันละห่วย กะยันละทะ กะยันกะง่าง และกะยันกะเคาะ ในการประกวดครั้งนั้นกะยันละห่วยผู้ซึ่งได้นำทองเหลือง มาพันรอบคอชนะการประกวด ชาวกะยันจึงเชื่อว่าการนำ ทองเหลืองมาพันเป็นห่วงรอบคอทำให้ดูสวยงาม

          ตำนานที่ 6 เมื่อก่อนนั้นกะเหรี่ยงชนเผ่าต่างๆ ยังเป็นพี่น้องกัน ทุกคนแต่งตัวเหมือนกัน จนกระทั่งวันหนึ่งมีการประกวด ว่าใครจะสวยงามกว่าใคร ซึ่งจากการประกวดนั้น ชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวก็ไปหาห่วงมาใส่คอเอาผ้ามาผูกผม เอาห่วงมาใส่แขนใส่ขา แต่ไม่ได้เน้นเสื้อผ้า เสื้อผ้าเลยเป็นสีขาว ส่วนเผ่าอื่นๆ ก็ต่างพยายามแต่งตัวให้สวยที่สุด หาวิธีต่างๆ เพื่อให้ตัวเองดูสวยที่สุด กะเหรี่ยงหูใหญ่ก็เจาะหูแล้วเอาห่วงมาใส่ตุ้มหู แต่ละคนต่างก็แต่งตัวแตกต่างกันออกไป แต่ผู้ชายไม่ค่อยได้ใส่ใจเลยแต่งตัวเหมือนๆ กัน ซึ่งจากการใส่ห่วงที่คอทำให้กระเหรี่ยงคอยาวชนะการประกวดในครั้งนั้น และทำให้เกิดชนเผ่าต่างๆ ขึ้นมากมาย โดยผู้หญิงแต่ละเผ่าจะแต่งกายแตกต่างกัน แต่ผู้ชายจะแต่งกายคล้ายๆ กัน

Broader Terms

Related terms

Date of creation
01-Feb-2021
Modified
28-May-2021
Accepted term
01-Feb-2021
Descendant terms
0
More specific terms
0
Alternative terms
0
Related terms
1
Notes
1
Metadata
Search
  • Search กำเนิดของกะเหรี่ยงคอยาว (Origin of Long Neck Karen)  (Wikipedia (ES))
  • Search กำเนิดของกะเหรี่ยงคอยาว (Origin of Long Neck Karen)  (Google búsqueda exacta)
  • Search กำเนิดของกะเหรี่ยงคอยาว (Origin of Long Neck Karen)  (Google scholar)
  • Search กำเนิดของกะเหรี่ยงคอยาว (Origin of Long Neck Karen)  (Google images)
  • Search กำเนิดของกะเหรี่ยงคอยาว (Origin of Long Neck Karen)  (Google books)